top of page

แหล่งกำเนิดคลื่นรบกวนที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของของเครื่องตรวจจับโลหะในอาหาร




ด้วยทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องการทำงานของเครื่องตรวจจับโลหะในอาหาร โดยหลักการนั้นเครื่องตรวจจับโลหะเป็นเครื่องสร้างสัญญาณวิทยุ ที่มีอุปกรณ์สร้างสัญญาณและรับสัญญาณในตัว ดังนั้นคลื่นรบกวนจากภายนอกออาจส่งผลต่อเครื่องตรวจจับโลหะในอาหารนี้ได้หากคลื่นนั้นมีคลื่นสัญญาณความถี่ที่ใกล้เคียงกับคลื่นความถี่ที่เครื่องตรวจจับโลหะผลิตขึ้นมา

คลื่นรบกวนที่กล่าวถึงข้างต้น มีอาทิเช่น การรบกวนทางไฟฟ้าในอากาศ - ไฟฟ้าสถิต คลื่นวิทยุ มีตั้งแต่แผงสั่นไปจนถึงโรเตอร์เชิงกล สเตเตอร์ พัดลม มอเตอร์  สายพานลำเลียง ปั๊ม คอมเพรสเซอร์ - การสั่นสะเทือน เช่น โลหะที่กำลังเคลื่อนที่ และความผันผวนของอุณหภูมิ เช่น เตาอบหรืออุโมงค์ทำความเย็น เครื่องจัดเรียงพาเลท และรถยก หรือแม้กระทั้งโต๊ะที่ขาไม่แข็งแรงที่สั่นคลอนได้ นอกจากนี้ คลื่นรบกวนที่ส่งผลได้น้อยกว่าแต่ก็ยังทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับโลหะลดลงได้ แต่ผู้ใช้หลายคนก็ยังมองข้าม อาทิ เช่น การต่อกราวด์ของเครื่อง


แนวทางในการแก้ปัญหาให้เครื่องตรวจจับโลหะของเราปลอดภัยจากคลื่นรบกวนเหล่านี้ มีตั้งแต่

-         การติดตั้งเครื่องตรวจจับโลหะให้มีระยะค่อนข้างห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังมอเตอร์สูง

-         หลีกเลี่ยงการติดตั้งเครื่องตรววจับโลหะให้อยู่ใกล้เครื่องกำเนิดความถี่ได้เช่น เครื่องจักรที่มีการสั่นตัว

-         ติดตั้งสายดินให้เครื่องตรวจจับโลหะ

-         ติดตั้งเครื่องกรองสัญญาณทางไฟฟ้าหรือเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า อาทิเช่น Pure sine UPS หรือ Voltage Stabilizer  

-         การเลือกใช้อุโมงค์ที่มีขนาดพอดีกับวัตถุหรืออาหารที่ผ่านเครื่องตรวจจับโลหะ เพราะขนาดอุโมงค์ที่เล็กลง จะส่งผลดีคือคลื่นสัญญาณรบกวนจะเข้าเครื่องได้น้อยกว่าขนาดอุโมงค์ที่ใหญ่

 

Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
Jialong
bottom of page